วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

วงจรชีวิตของผีเสื้อ


วงจรชีวิตของผีเสื้อ
    
             ก่อนที่จะมาเป็นผีเสื้อที่สวยงาม ชีวิตต้องผ่านขั้นตอยต่างๆมากมาย ต้อง เสี่ยง ภัยอันตรายที่มีอยู่รอบ ด้านเพื่อให้ไปถึงจุดสูงสุด ของการเป็นเเมลง ที่สวยงาม ที่สุด ในโลกเพียง 1-2สัปดาห์ อันเป็นช่วงเวลา ของการสืบ ต่อ เผ่าพันธุ์ของตนตลอด จนพันธุ์ไม้ อีกมาก มีผู้ประเมินว่า หากผีเสื้อตัวหนึ่งวางไข่ 150 ฟอง จะมีอยู่เพียง 2ฟองเท่านั้นที่ สามารถ เจริญเติบโตเป็นผีเสื้อได้ ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะต่างๆ ของ ผีเสื้อต้องผจญ กับ อุปสรรคมากมาย ปัญหาจาก สิ่งเเวดล้อม ปัญหาของการเเก่ง เเย่ง กันเอง การเจริญเติบโต ของผีเสื้อ จะเป็นเเบบสมบูรณ์      กล่าวคือเเต่ละขั้นของการเจริญเติบโตจะมีรูปร่างสีสรรที่เเตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สามารถเเบ่งเเยกได้เป็น 4 ระยะด้วยกัยคือ
ไข่ 
         
 ผีเมื้อหลังจากผ่านการผสมพันธุ์เเล้ว จะบินไปที่พืชอาหารของ ตัวหนอนเพื่อวางไข่ ไข่มีรูปร่างต่างกันขึ้นอยู่กับวงศ์ของผีเสื้อ บางชนิด มีรูปร่างกลม บางชนิดเป็นกรวย ในการวาง ไข่ผีเสื้อจะวางไว้ที่พืชอาหาร อาจวางเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่ม หรือบางชนิดวางไว้ใกล้กับพืชอาหาร ซึ่งไข่ ของผีเสื้อใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 3-5 วันจึงฟักเป็นตัวหนอน

 
ตัวหนอน
      หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่เเล้ว ตัวหนอน มี ลักษณะที่เเตกต่าง กันอาหาร อย่างเเรกที่ ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้น ตัวหนอนจึงเริ่มกิน ใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อน ก่อน ซึ่งลักษณะการกินของ ตัวหนอนจะเริ่ม จากขอบใบ เข้าหา กลางใบ เเละจะมี การลอกคราบ เพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยคลอด ระยะเวลาที่เป็น ตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนเเปลง เกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นเเล้ว บางชนิด สีสรร เเละ รูปร่าง ก็เเตกต่างกันไปด้วยช่นหนอนผีเสื้อหางติ่งหนอนมะนาว ในระยะเเรกๆสีสรรก็เหมือนมูลนก เเต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้น สีสรรจะ เปลี่ยนไปเป็นสีเขียว มีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอก ด้วย เป็นต้น เเต่ทั้งหมด มีสิ่งหนึ่งซึ่งทำ ให้สามารถ จำเเนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอน มีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก เเละขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอน ทั่วไป มักหากินเดี่ยวๆ เเต่ก็มีบางชนิดทีระยะเเรกๆ หากินกัน เป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน




ดักเเด้
       เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบ เพื่อเข้า ดักเเด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เเต่ภาย ในเปลือกดักเเด้ การ พัฒนา ต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการ สะสมอาหาร ไว้อย่างเต็มที่ เป็นที่ หมายปองของเหล่าบรรดารตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนขอ ผีเสื้อ เเต่ละชนิด จะเลือกที่เข้าดักเเด้ต่างกันไป ระยะ ดักเเด้ใช้เวลาประมาณ 7-10
ตัวเต็มวัย 
        คือผีเสื้อที่มีสีสรรสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งเเต่ออกจากดักเเด้ โดย ผีเสื้อ ช่ขาดันเปลือกดักเเด้ให้ปริเเตกออก เเละผีเสื้อที่มีปีก ยับยู่ยี่ จะออกมา ใน ลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสีย ที่เป็สีชมพูออก มา ในระยะเเรกปีก ของผีเสื้อยังไม่สามารถเเผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของ เหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก เเละต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงใน การทำให้ปีกเเข็ง พอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดเเละเเต่ละช่วงอายุขัย

วงจรชีวิต กบ


วงจรชีวิตของกบแบ่งออกเป็น 4 ช่วงชีวิตคือ

1.ช่วงของไข่กบ
2.ช่วงของลูกอ๊อด
3.ช่วงของลูกกบเล็ก
4.ช่วงของกบสมบูรณ์วัย






เมื่อถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ในช่วงหน้าฝน กบตัวผู้และตัวเมียที่มีความพร้อมในการผสมพันธุ์จะจับคู่กันในช่วงตอนเย็นๆจนถึงหัวค่ำ







พอถึงตอนรุ่งเช้ากบที่จับคู่จะไข่ออกมา หนึ่งคู่จะไข่ประมาณ 2,000-3,000 ฟองต่อตัว ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อและแม่พันธุ์





หลังจากไข่มีอายุได้ 1 วันไข่จะฟักตัวกลายเป็นลูกอ๊อด







จากนั้นจะเริ่มมีพัฒนาการทางร่างการจะเห็นลายบนตัวมากขึ้นในช่วง 14-21 วัน






จนอายุประมาณ 25 วันจะเริ่ม มีขาหลังและขาหน้าตามลำดับ









เมื่อขาทั้ง 4 ออกครบและแข็งแรงพอ พร้อมกับสภาพอาการที่เหมาะสมลูกอ๊อดจะขึ้นบกและหางเริ่มหด






จนเริ่มเป็นลูกกบที่สมบูรณ์






เมื่อกบสมบูรณ์เต็มวัยจุดบ่งบอกเพศก็จะชัดชึ้นโดยแบ่งแยกดังนี้
1. ตัวผู้




2.ตัวเมีย

วงจรไฟฟ้า


ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้า
          วงจรไฟฟ้า เป็นการนำเอาสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางเดินให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านต่อถึงกันได้นั้นเราเรียกว่า วงจรไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในวงจรจะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังการแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นโดยการต่อแบตเตอรี่ต่อเข้ากับหลอดไฟ หลอดไฟฟ้าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรไฟฟ้าและเมื่อหลอดไฟฟ้าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจร เนื่องจากสวิตซ์เปิดวงจรไฟฟ้าอยู่นั่นเอง
            แสดงวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น  มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน  ส่วนประกอบหลักแต่ละส่วนมีหน้าที่การทำงานดังนี้
            1.  แหล่งจ่ายไฟฟ้า  เป็นแหล่งจ่ายแรงดันและกระแสให้กับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าสามารถนำมาได้จากหลายแหล่งกำเนิด  เช่น  จากปฏิกิริยาเคมี  จากขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก  และจากแสงสว่าง  เป็นต้น  บอกหน่วยการวัดเป็นโวลต์ (Volt) หรือ V
            2.  โหลดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า  เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน  โหลดจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นๆ เช่น เสียง แสง ความร้อน  ความเย็น และการสั่นสะเทือน เป็นต้น  โหลดเป็นคำกล่าวโดยรวงมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดอะไรก็ได้ เช่น  ตู้เย็น  พัดลม เครื่องซักผ้า  โทรทัศน์  วิทยุ  และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น  โหลดแต่ละชนิดจะใชัพลังงานไฟฟ้าไม่เท่ากัน  ซึ่งแสดงด้วยค่าแรงดัน  กระแส  และกำลังไฟฟ้า
            3.  สายไฟต่อวงจร  เป็นสายตัวนำหรือสายไฟฟ้า  ใช้เชื่อมต่อวงจรให้ต่อถึงกันแบบครบรอบ  ทำให้แหล่งจ่ายแรงดันต่อถึงโหลดเกิดกระแสไหลผ่านวงจร  จากแหล่งจ่ายไม่โหลดและกลับมาครบรอบที่แหล่งจ่ายอีกครั้ง  สายไฟฟ้าที่ใช้ต่อวงจรทำด้วยทองแดงมีฉนวนหุ้มโดยรอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
  แบบวงจรไฟฟ้า
    ส่วนสำคัญของวงจรไฟฟ้าคือการต่อโหลดใช้งาน  โหลดที่นำมาต่อใช้งานในวงจรไฟฟ้าสามารถต่อได้เป็น  3  แบบด้วยกัน  ได้แก่  วงจรำฟฟ้าแบบอนุกรม  (Series Electrical Circuit) วงจรไฟฟ้าแบบขนาน (Parallel Electrical Circuit) และวงจรไฟฟ้าแบบผสม (Series - Parallel Electrical Circuit)

 วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
            จรอนุกรมหมายถึง การนำเอาอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามาต่อกันในลักษณะที่ปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่ 1 ต่อเข้ากับอุปกรณ์ตัวที่ 2 จากนั้นนำปลายที่เหลือของอุปกรณ์ตัวที่ 2 ไปต่อกับอุปกรณ์ตัวที่ 3 และจะต่อลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งการต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกระแสไฟฟ้าภายในวงจรอนุกรมจะมีค่าเท่ากันทุกๆจุด ค่าความต้านทานรวมของวงจรอนุกรมนั้นคือการนำเอาค่าความต้านทานทั้งหมดนำมารวมกันส่วนแรงดันไฟฟ้าในวงจรอนุกรมนั้นแรงดันจะปรากฎคร่อมตัวต้านทานทุกตัวที่จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมีค่าไม่เท่ากันโดยสามารถคำนวนหาได้จากกฎของโอห์ม

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม

  วงจรไฟฟ้าแบบขนาน
            วงจรที่เกิดจากการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปให้ขนานกับแหล่งจ่ายไฟมีผลทำให้ค่าของแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน ส่วนทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าจะมีตั้งแต่ 2 ทิศทางขึ้นไปตามลักษณะของสาขาของวงจรส่วนค่าความต้านทานรวมภายในวงจรขนานจะมีค่าเท่ากับผลรวมของส่วนกลับของค่าความต้านทานทุกตัวรวมกัน ซึ่งค่าความต้านทานรวมภายในวงจรไฟฟ้าแบบขนานจะมีค่าน้อยกว่าค่าความต้านทานภายในสาขาที่มีค่าน้อยที่สุดเสมอ และค่าแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานไฟฟ้าแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับแรงเคลื่อนของแหล่งจ่าย

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
  วงจรไฟฟ้าแบบผสม
            เป็นการต่อวงจรไฟฟ้าโดยการต่อรวมกันระหว่างวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้าแบบขนาน  ภายในวงจรโหลดบางตัวต่อวงจรแบบอนุกรม  และโหลดบางตัวต่อวงจรแบบขนาน  การต่อวงจรไม่มีมาตรฐานตายตัว  เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรตามต้องการ  การวิเคราะห์แก้ปัญหาของวงจรผสม  ต้องอาศัยหลักการทำงานตลอดจนอาศัยคุณสมบัติของวงจรไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน  ลักษณะการต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าแบบขนาน

ระบบนิเวศแบบป่าไม้

ระบบนิเวศแบบป่าไม้

           ป่าไม้อาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ป่าไม้ผลัดใบ(Deciduous forest) และป่าไม้ไม่ผลัดใบ(Evergareen forest)

            1. ป่าไม้ผลัดใบ 
           คือ ป่าไม้ที่ต้นไม้ส่วนใหญ่ต่างผลัดใบหมดในฤดูแล้งและเริ่มผลิใบใหม่ในต้นฤดูฝน ป่าไม้ผลัดใบในเขตอบอุ่น พบเขตฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปทั้งหมด บางส่วนของญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ปริมาณฝนตก 30-60 นิ้วต่อปี ภูมิอากาศโดยทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง ฤดูร้อนและฤดูหนาวของแต่ละปีแตกต่างกันมาก พืชที่พบได้แก่ ต้นโอ๊ค ฮัคคอรี เชสท์นัท พืชดังกล่าวมีใบกว้างพื้นป่าปกคลุมด้วยไม้พุ่มและไม้ล้มลุก สัตว์ที่พบได้แก่ สุนับจิ้งจอก สกั๊ง แรคคูน ตุ่น หนูผี กวางเวอร์จิเนีย
ป่าไม้ผลัดใบเขตร้อน เช่น ป่าไม้ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่
          
         1.1 ป่าเบญจพรรณ หรือ ป่าผสมผลัดใบ (Mixed deciduous forest) มีอยู่ทั่วไปตามภาค ต่าง ๆ ของประเทศ ที่เป็นที่ราบหรือตามเนินเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล ระหว่าง ๕๐-๖๐๐ เมตร ดินเป็นได้ตั้งแต่ดินเหนียว ดินร่วน จนถึงดินลูกรัง ปริมาณน้ำฝนไม่เกิน ๑,๐๐๐ มิลลิเมตร ต่อปี เป็นสังคมพืชที่มีความหลากหลายทางมวลชีวะมากสังคมหนึ่ง พรรณไม้จะผลัดใบมากในฤดูแล้ง เป็นเหตุให้พรรณไม้เหล่านี้มีวงปีในเนื้อไม้หลายชนิด พรรณไม้ขึ้นคละปะปนกัน ที่เป็นไม้หลักก็มี สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง พยุง ชิงชัน พฤกษ์ถ่อน ตะเคียนหนู หามกราย รกฟ้า พี้จั่น และไผ่ขึ้นเป็นป่าหนาแน่น ต้นไม้ที่เด่นของป่าเบญจพรรณ คือ ต้นไผ่

         1.2 ป่าแพะ หรือ ป่าแดง หรือ ป่าโคก (Dry dipterocarpus forest) ป่าชนิดนี้เกิดที่ราบสูงและตามสันเขาที่เป็นดินปนทราย หรือปนกรวด ลักษณะของป่าค่อนข้างเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจายมักมีลำต้นเล็ก เตี้ย ไม้พื้นล่างมักเป็นหญ้าแฝกหรือไม้พุ่ม

         2. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ 
         คือ ป่าไม้ที่มีต้นไม้มีใบเขียวชอุ่มตลอดปี ไม่มีระยะเวลาสำหรับผลัดใบที่แน่นอน เมื่อใบเก่าร่วงหล่นไปใบใหม่ก็ผลิออกมาแทนที่ทันที แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ
 
         2.1 ป่าสนหรือป่าสนเขา(coniferous forest หรือ Pine forest)
เป็นป่าที่พบทั่วไปตามภูเขาที่สูงกว่า 700-1,000 เมตร อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 50-60 องศาเหนือ เช่น บริเวณ อลาสกา แคนาดา สแกนดิเนเวีย ไซบีเรีย และบางส่วนของประเทศไทย ส่วนบริเวณป่าสนในแถบซีกโลกเหนือ อาจมีชื่อเรียกได้อีอย่างหนึ่งว่า ไทกา(Taiga) สภาพอากาศบริเวณที่มีความเย็นสูง(ช่วงฤดูร้อนสั้นแต่ช่วงฤดูหนาวยาว) ฝนตกค่อนข้างมาก การสลายตัวของสารเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดดินแบบพอดซอล(Podsol) คือมีสภาพเป็นกรดและขาดธาตุอาหารเนื่องจากมีอัตราการชะล้างสูง แม้กระนั้นผลผลิตในรอบปีของป่าสนก็ยังมีอัตราค่อนข้างสูงยกเว้นในช่วงอุณภูมิต่ำ


          2.2 ป่าดิบชื้น หรือป่าดงดิบ (Tropical rain forest หรือ Tropical evergreen forest) มีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศ ที่มีระดับสูงตั้งแต่ระดับเดียวกันกับน้ำทะเล จนถึงระดับ ๑๐๐ เมตร มีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้ที่ขึ้นมีมากชนิด เช่น พวกไม้ยางต่าง ๆ พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยพวกปาล์ม หวาย ไผ่ต่าง ๆ และเถาวัลย์นานาชนิด 


          2.3 ป่าดิบภูเขา (Hill evergreen forest)
เป็นป่าดงดิบที่พบอยู่บนภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างจาก
ป่าดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ไม่มีพันธุ์ไม้วงศ์ยางแต่มีพันธุ์ไม้จำพวกพญาไม้ มะขามป้อมดง สนสามพันปี และไม้ก่อชนิดต่าง ๆ ไม้ชั้นรองได้แก่ ส้มแปะ หว้า ไม้ชั้นล่างเป็นพวกไม้พุ่มรวมทั้งข้าวดอกฤาษี มอส สามร้อยยอด เป็นต้น


          2.4 ป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Littoral forest)
เป็นป่าน้ำทะเลท่วมถึงพบตามชายฝั่งที่เป็นแหล่งสะสมดินเลนทั่ว ๆ ไป นับเป็นเอกลักษณ์น้อยชนิดและขึ้นเป็นกลุ่มก้อน เท่าที่สำรวจพบมี ๗๐ ชนิด พรรณไม้หลักมีโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่เป็นพื้น นอกนั้นเป็นพวกแสม ไม้ถั่ว ประสัก หรือพังกา โปรง ฝาก ลำพู-ลำแพน เป็นต้น ผิวหน้าดินเป็นที่สะสมของมวลชีวภาพ ถอบแถบน้ำ ปรงทะเล และจาก เป็นต้น

         2.5 ป่าพรุและป่าบึงน้ำจืด (Swamp forest)
เป็นป่าตามที่ลุ่มและมีน้ำขังอยู่เสมอ พบกระจายทั่วไปและพบมากทางภาคใต้ อยู่ระดับเดียวกับน้ำทะเลเป็นส่วนมาก เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เท่าที่มีการสำรวจพบว่ามีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า ๔๗๐ ชนิด และในจำนวนนี้เป็นชนิดที่พบครั้งแรกของประเทศถึง ๕๐ ชนิด ปริมาณน้ำฝนระหว่าง ๒,๓๐๐-๒,๖๐๐ มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้หลักมีพวกมะฮัง สะเตียว ยากา ตารา อ้ายบ่าว หว้าน้ำ หว้าหิน ช้างไห้ ตีนเป็ดแดง จิกนม เป็นต้น พืชชั้นล่างเป็นพวกปาล์ม เช่น หลุมพี ค้อ หวายน้ำ ขวน ปาล์มสาคู รัศมีเงิน กระจูด เตยต่าง ๆ เป็นต้น

          2.6 ป่าชายหาด (Beach forest)
เป็นป่าที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นกรวด ทราย และโขดหิน พรรณไม้น้อยชนิด และผิดแผกไปจากป่าอื่นอย่างเด่นชัด ถ้าเป็นแหล่งดินทรายจะมีพวกสนและพรรณไม้เลื้อยอื่น ๆ บางชนิด ถ้าดินเป็นกรวดหิน พรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกระทิง ไม้เมา หูกวาง และเกด เป็นต้น

หน้าที่เด็ก


หน้าที่เด็กที่
1. นับถือศาสนา
2. รักษาธรรมเนียมมั่น
3. เชื่อพ่อแม่ครูบาอาจารย์             
4. วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน        
5. ยึดมั่นกตัญญู
6. เป็นผู้รู้รักการงาน
7. ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
8. รู้จักออมประหยัด
9. ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
10. ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษสมบัติชาติต้องรักษา 
เด็กสมัยชาติพัฒนาต้องเป็นเด็กที่พาชาติเจริญ
ข้อที่สามารถทำได้

1. นับถือศาสนา
3. เชื่อพ่อแม่ครูบาอาจารย์
9. ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
10. ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษสมบัติชาติต้องรักษา 
เด็กสมัยชาติพัฒนาต้องเป็นเด็กที่พาชาติเจริญ

แนะนำตัวขบวนการเด็กดี

ชื่อ นายวรเชษฐ์  เดชสังข์  ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/2  เลขที่ 9
โรงเรียน อาเวมารีอา จังหวัดอุบลราชธานี
ครูผู้สอน คุณครู วีระชน  ไพสาทย์
ความสามารถการใช้เทคโนโลยีของฉัน เล่นเกม ทำงาน
ความคาดหวังในการใช้งานคอมพิวเตอร์  หลากหลายมากขึ้น